ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียนับถือในประเทศไทยคนรู้จักศาสนาฮินดูในชื่อว่า
ศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นชื่อทางราชการของศาสนาฮินดูในประเทศไทย คือ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแต่ในบทความนี้ขอใช้ชื่อว่าศาสนาฮินดูแทน
เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงที่ใช้กันในวงวิชาการทั่วไป
ความจริงนักวิชาการหลายคนเรียกศาสนายุคที่ยึดถือคัมภีร์ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท
อถรรพเวท พราหมณะ อารัณยกะและอุปนิษัท ว่าศาสนาพระเวท (Vedic Religion) หรือศาสนาพราหมณ์(Brahmanism)
เพื่อแยกให้เห็นความแตกต่างกับศาสนาฮินดู (Hinduism)ซึ่งพัฒนามาจากศาสนาพระเวทหรือศาสนาพราหมณ์นั่นเอง
ศาสดา
ศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ เทพเจ้าที่สำคัญ ได้แก่
– พระพรหม เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล
– พระวิษณู เป็นผู้คุ้มครองโลก
– พระอิศวร เป็นผู้ทำลายโลกและสร้างโลกขึ้นใหม่
คัมภีร์
1) ฤคเวท เป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด
เป็นบทสวนหรือมนต์สรรเสริญอ้อวนวอนพระผู้เป็นเจ้า บทสวดคัมภีร์ฤคเวทเป็นบทร้อยกรอง
2) ยชุรเวท
เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์
ซึ่งเป็นบทร้อยแก้วที่อธิบายวิธีการประกอบพิธีกรรม บวงสรวงและการทำพิธีบูชายัญ
3) สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์ ซึ่งเป็นบทร้อยกรอง
ใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมและขับกล่อมเทพเจ้า
4) อาถรรพเวท
เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์ เป็นคาถาอาคมมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ สำหรับทำพิธีไล่เสนียดจัญไร และอัปมงคลให้กลับมาเป็นมงคลนำความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู
นิกาย
1. นิกายไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด
เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี
มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ
นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni)
2. นิกายไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด
พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์
อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ
นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า
วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี
นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน
3. นิกายศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี
พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย
เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น
4. นิกายคณะพัทยะ
(Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด
ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา
เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ
ครบทุกพระองค์
5. นิกายสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต
ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ กายาตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์
คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร
6. นิกายสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา
ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ
หลักคำสอน
หลักอาศรม ๔ หมายถึง
ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
เพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น จนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ
หลุดพ้นจากสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) แบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่ พรหมจารี
คฤหัสถ์ วานปรัสถ์ และ สันยาสี
๑) พรหมจารี
เป็นวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียน เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์
เมื่อมีอายุครบ ๕ ปี ๘ ปี และ๑๖ ปี ตามลำดับจะต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นศิษย์เพื่อศึกษาพระเวทกับอาจารย์
๒) คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน
เมื่อสำเร็จการศึกษา พราหมณ์เหล่านี้ก็จะกลับคืนสู่บ้านเรือน
เพื่อแต่งงานและมีบุตรสืบสกุล พร้อมกับทำหน้าที่ผู้ครองเรือนในฐานะหัวหน้าครอบครัว
๓) วานปรัสถ์
เป็นช่วงเวลาในการทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ คือ การออกบวชเข้าสู่ป่า
เพื่อฝึกจิตให้บริสุทธิ์ การเข้าป่าเพื่อหาความสงบนี้อาจทำเป็นครั้งคราวแล้วกลับสู่เรือนอีกก็ได้
๔) สันยาสี เป็นขั้นสุดท้ายของชีวิต
โดยสละชีวิตคฤหัสถ์เพื่อออกบวชบำเพ็ญเพียรตามหลักของศาสนา
เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากสังสารวัฎเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิต คือ โมกษะ
หลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมการอย่างสันติสุข
1.ไม่พึงทำร้ายผู้อื่น
2.มีความกรุณา
3.ต้อนรับผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
4.มีสัจจะ
5.ไม่ลักทรัพย์
พิธีกรรมที่สำคัญ
1. พิธีศราทธ์ คือ
พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
2. พิธีประจำบ้าน
ได้แก่
- พิธีอุปนยัน คือ พิธีเริ่มการศึกษา
ถ้าเป็นหญิงยกเว้น
- พิธีวิวาหะ คือ พิธีแต่งงาน
3. ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวรรณะ
คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทศย์ ศูทร
แต่ละวรรณะมีการดำเนินชีวิตที่ต่างกันจึงต้องปฏิบัติตามวรรณะของตน เช่น
การแต่งงาน การแต่งกาย เป็นต้น
4. พิธีบูชาเทพเจ้า
แต่ละวรรณะจะมีการปฏิบัติต่างกันในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานศิวะราตรี (พิธีลอยบาป)
งานบูชาเจ้าแม่ลักษมี (เทวีแห่งสมบัติและความงาม) เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น