ศาสนาสิข

ศาสนาสิข

  ศาสนาสิกข์เป็นศาสนาประเภทเทวนิยม คือเชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก มีอำนาจยิ่งใหญ่และมีองค์เดียว จึงนับว่าเป็นศาสนาประเภทเอกนิยม (Monotheism) และเป็นศาสนาที่มีอายุน้อยที่สุดในศาสนาของโลกทั้งสิบเอ็ดศาสนา
คำว่า "สิกข์" เป็นภาษาปัญจาบ แปลว่า ผู้ศึกษา หรือศิษย์ คือชาวสิกข์ทุกคนเป็นศิษย์ของคุรุหรือครู มีด้วยกันทั้งสิ้น 10 องค์ มีคุรุนานักเป็นองค์แรก คุรุโควินทสิงห์เป็นองค์สุดท้าย ชาวสิกข์ทุกคนต้องทำพิธี "ปาหุล" คือพิธีล้างบาป เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะรับเอา "กะ" คือสิ่งที่เริ่มต้นด้วยอักษร "ก" 5 ประการ
ศาสดา
                พระศาสดาคือผู้นำทาง ผู้ปฎิบัติธรรมอันแกร่งกล้า ผู้ซึ่งช่วยนำพาเราทุกคนไปสู่พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ พระศาสดาเป็นผู้ชี้ทางสว่างแก่มนุษย์ทุกคน ท่านไม่ได้เป็นผู้ค้นพบศาสนา ลัทธิ หรือหลักคำสอนใหม่ๆ ใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่เป็นผู้รอบรู้ซึ่งเข้าถึงสัจธรรมที่แท้จริง และช่วยนำทางเราทุกคนให้เข้าถึงสัจธรรมนี้ ซึ่งเป็นหนทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นั่นเอง
คัมภีร์


พระมหาคัมถีร์ คุรุ ครันถะสาหิพ (เดิมเรียกว่า พระมหาคัมภีร์ อดิ ครันธ์) ได้ถูกรวบรวมโดยพระศาสดาองค์ที่ห้าของศาสนาซิกข์ คือ ท่าน คุรุ อรชุนเทพ ซึ่งในสมัยนั้น พี่ชายของ ท่าน คุรุ อรชุนเทพ ซึ่งก็คือ ท่าน ปริธิ จันทร์ และคนอื่นๆ ต่างก็เริ่มพยายามเผยแผ่หลักคำสอนที่พวกเขาแต่งกันขึ้นมาเอง แต่อ้างว่าเป็นคำสอนของพระศาสดา ดังนั้นหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป อาจจะนำความเสื่อมเสียมาให้ยังศาสนาซิกข์ได้
นิกาย
นิกายนานักปันถิ หรือสหัชธรีนิกายนี้หนักไปในทางนับถือคุรุนานัก
จึงดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายดำเนินรอยตามคุรุนานัก นิกายนี้โกนผมโกนหนวดเคราได้
หลักคำสอน
นิกายขาลสา หรือ สิงห์นิกายนี้นับถือหนักไปทางคุรุโควินทสิงห์ผู้ที่นับถือ
นิกายนี้จะไว้ผมตลอดทั้งหนวดเครายาว โดยไม่ตัดหรือโกนตลอดชีวิต
หลักพื้นฐาน
หลักคำสอนของศาสนาซิกข์ จะสอนให้รู้จักพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้ มีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑. กรรม คือ การกระทำ
๒. ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง
๓. มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่บเอิบอยู่ในทางธรรม
๔. พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว
๕. สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า
พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาอิสลาม
๑. พิธีสังคัต เป็นพิธีการชุมนุมของผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์ ซึ่งทุกคนมีการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ไม่มีใครได้รับยกเว้นเป็นพิเศษ เช่น ต้องตักน้ำ เช็ดรองเท้า ทำทุกอย่างด้วยตนเอง

๒. พิธีอมฤตสังสการ เป็นพิธีรับคนเข้าสู่ศาสนาซิกข์ โดยใช้หลักแห่งความเสมอภาค ไม่รังเกียจกัน

๓. พิธีปาหุล เป็นพิธีล้างบาป หลังจากผ่านพิธีปาหุลแล้ว ผู้ชายจะมีชื่อลงท้ายว่า สิงห์หรือ ซิงซ์หมายถึง ความเข้มแข็งดังเช่นสิงโต ส่วนผู้หญิงจะมีชื่อลงท้ายว่า เการ์หมายถึง เจ้าหญิง เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะได้รับกกะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น